เมนู

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ฌาน.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น
กระทำทานเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.

4. อนันตรปัจจัย


[597] 1. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
มี 4 วาระ.
ภาวนาทุกะ เหมือนกับทัสสนทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

มี 4 วาระ
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย มี 5 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[598] 1. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ
ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม แก่โทสะ
แก่โมหะ แก่มานะ แก่ความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
2. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม แล้วให้ทาน
ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์.
บุคคลเข้าไปอาศัยโทสะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ โมหะ ฯลฯ
มานะ ฯลฯ ความปรารถนา แล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ฆ่าสัตว์
ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัย
แก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม แก่โทสะ
แก่โมหะ แก่ทิฏฐิ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย
แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
3. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-
ปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัย ศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะที่ไม่ใช่ภาวนาย-
ปหาตัพพธรรม โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทาง
กาย ทุกข์ทางกาย เสนาสนะ แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ปัญญา แก่
ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม แก่โทสะ แก่โมหะ แก่ทิฏฐิ แก่ความ
ปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา แล้วก่อมานะ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา สุข
ทางกาย ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ แล้วก่อมานะ.

ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพ-
ธรรม แก่โทสะ แก่โมหะ แก่มานะ แก่ความปรารถนา ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[599] 1. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาต-
ปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่
ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ย่อมเกิด
ขึ้น โทมนัสที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กาย-
วิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.